ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนางสาว นุจรินทร์ ศรีคำมา

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สมุนไพรสำคัญที่ควรรู้



เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมุนไพร

               ตามบันทึกว่าด้วยเรื่องการแพทย์ไทยในยุคก่อนนั้น ได้ทำการแบ่งตัวยาจากสมุนไพรโดยการใช้รสต่างๆเป็นตัวแยกจำพวก ซึ่งสามารถแยกตัวยาออกจากกันโดยรสต่างๆได้ถึง ๙ รสเลยทีเดียว กล่าวคือ
๑.      รสฝาด มักนิยมไปทางสมานแก้บิด ปิดธาตุ
๒.    รสหวาน มักนิยมให้เกิดความกระชุ่มกระชวย เกิดกำลัง เป็นยาบำรุง
๓.     รสเมาเบื่อ มักนิยมใช้แก้พิษเสมหะ และโลหิต
๔.     รสขม มักนิยมใช้แก้โลหิตสตรี และดี ส่วนยาสมุนไพรจีนจะใช้แก้พิษและแก้ขับ
๕.     รสเผ็ด มักนิยมใช้แก้ลมต่างๆ รวมไปถึงบำรุงธาตุด้วย ส่วนยาสมุนไพรจีนจะใช้เป็นยาระบาย
๖.      รสมัน มักนิยมใช้ในทางเส้นเอ็น และบำรุงไขข้อ
๗.     รสหอมเย็น มักนิยมให้เกิดความชื่นใจ
๘.     รสเค็ม มักนิยมใช้กับผิวหนังภายนอก แก้กลากเกลื่อน
๙.      รสเปรี้ยว มักนิยมใช้ในการขับเสมหะ ส่วนยาสมุนไพรจีนนิยมใช้สมาน รวมทั้งใช้ในโรคเหงื่อออกมาก
สาเหตุที่ต้องแยกตัวยาออกจากกันโดยรสชาติต่างๆนั้นก็เพื่อสะดวกในการปรุงยานั่นเอง เพราะถ้าหากตัวยามีรสชาติที่ขัดกันแล้ว ก็ไม่สามารถนำมาปรุงรวมเข้ากันได้ ซึ่งก็คือ พืช ผัก สมุนไพรต่างๆเอง โดยเชื่อว่าตัวยาบางชนิดสามารถเก็บได้เฉพาะบางฤดูหรือบางวันเท่านั้น เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

การเก็บตัวยาแบ่งตามฤดูต่างๆ
๑.      คิมหันตฤดู  (ฤดูร้อน) สมุนไพรที่ต้องการมาปรุงยาจะเก็บได้เฉพาะส่วนของรายเท่านั้น เพราะเชื่อว่าสรรพคุณต่างๆจะไปรวมอยู่ที่ดังกล่าว
๒.    วสันตฤดู (ฤดูฝน) ความชุ่มช่ำของสายฝนจะโปรยปรายลงมาตามส่วนต่างๆของพืช ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก ลูกผล เชื่อสรรพคุณทางยาจะไปรวมอยู่ที่ดังกล่าว
๓.   เหมันตฤดู (ฤดูหนาว) ส่วนของ เปลือก ลำต้น กระพี้ไม้ และเนื้อไม้ เป็นส่วนที่ปกป้องพืชจากอากาศที่หนาวเย็นเป็นเหตุให้สรรพคุณทางยาไปรวมอยู่ที่ส่วนนั้นๆโดยปกติในช่วงเวลากลางคืน

ตัวอย่างสมุนไพร

                                                            กระเทียม



ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Allium sativum L.
วงศ์ :   Alliaceae
ชื่อสามัญ :   Common Garlic , Allium ,Garlic ,
ลักษณะ     เป็นลักษณะของหัวใต้ดินเป็นกลีบเรียงซ้อนกัน แต่ล่ะกลีบมีเปลือกหุ้มบางๆ ซ้อนเป็นหลายชั้นสีขาว ส่วนเนื้อจะออกนวลเกือบขาว
แหล่งที่พบ    นับเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกกันมากในแถบภาคอิสานของไทย
ส่วนที่ใช้    หัวกระเทียม
สรรพคุณ    นอกจากใช้หัวกระเทียมเป็นเครื่องเทศในการปรุงแต่งกลิ่นรสอาหารให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้นแล้ว  ยังสามารถใช้เป็นยาภายนอกโดยการตำตาลหุ้มด้วยโขลก คั้นน้ำพบบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังอันมีสาเหตุมาจากเชื้อรา เช่นกลากเกลื้อน และนำมาปรุงเป็นยาร่วมกับน้ำส้มสายชู น้ำตาล และเกลือ รับประทานลดอาการจุกเสียดแน่นได้เป็นอย่างดี หัวกระเทียมสดมีสรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาพอกอุดบรรเทาอาการปวดฟัน โดยโขลกรวมกับเกลืออุดตรงบริเวณซอกฟันที่ปวด ก็จะรู้สึกดีขึ้น
 

กระวาน




ชื่ออื่น    กระวานขาว กระวานจันทร์ กระวานดำ(ชื่อที่เรียกขานกันตามท้องถิ่น)
ลักษณะ    ต้นแบนสูงไม่เกิน 4 เมตร มีสีเขียวแกมสีขาว ช่อดอกงอกแทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน ผลมีรูปรีผิวเกลี้ยง เป็นกลีบ 3 กลีบประกบกันอยู่ภายในเมล็ดสีน้ำตาลหุ้มด้วยเนื้อใส มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสออกเผ็ดร้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
แหล่งที่พบ    มีถิ่นถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
ส่วนที่ใช้    ผล ราก ใบ หน่อ
สรรพคุณ    นำผลกระวานตากแห้งบดให้เป็นผงชงกับน้ำอุ่นบรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อเรอแน่น ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยให้โลหิตไหนเวียนดี ช่วยขับเสมหะ หน่อมีฤทธิ์ขับพยาธิใต้เนื้อเยื่อ ให้โผล่ออกมาทางผิวหนัง รากมีสรรรพคุณช่วยให้โลหิตเสียลงสู่เบื้องล่าง ใบมีสรรพคุณเป็นยากระตุ้น ช่วยลดไข้
    


ขึ้นฉ่าย



ชื่อสามัญ   Celery
ชื่อวิทยาศาสตร์   Apium grsveolens Linn.
ลักษณะ   จัดอยู่ในพืชล้มลุก มีอายุราว 2 ปี ใบเป็นใบประกอบออกตรงกันข้าม ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มซ้อนกัน สีออกขาว ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำมันระเหย กลิ่นหอม
แหล่งที่พบ    พบได้ทุกภาค สามารถนำมาปลุกเป็นพืชสวนครัวได้
สรรพคุณ    ใบ และต้นขึ้นฉ่ายมีฤทธิ์ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้บรรเทาอากาแน่นจุกเสียด ช่วยลดความดันโลหิตละขับปัสสาวะ
ข้อสังเกต      จากการทดลองพบว่า ขึ้นฉ่ายมีสารบางตัวที่มีฤทธิ์ทำให้จำนวนอสุจิลดลง  และคงที่เมื่อลดลงมาจนถึงระดับหนึ่ง ดังนั้น หากจะใช้ขึ้นฉ่ายควบคุมกำเนิดจึงไม่เกิดผล 100 % แต่อย่างใด


ข้าว

ชื่ออื่น  ข้าวจ้าว ข้าวคอแร้ง ข้าวไข่ แมงดา (อ่างทอง) ข้าวนึ่ง (ภาคเหนือ)   ข้าวเหนียว(ภาคกลาง)
ลักษณะ   จัดอยู่ในธัญพืชจำพวกหญ้า มีลำต้นสูงยาวประมาณ 1-1.5 เมตร ภายในจะกลวงมีข้อชัดเจน ใบบ้างแคบยาว เส้นกลางใบชัดเจน ปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อ ที่ยอดมีดอกย่อยออกเป็นจำนวนมาก ดอกย่อยมีลักษณะกลมรียาว 6-7 มิลลิเมตร ดอกที่ไม่ติดผลจะฝ่อลีบเป็นหนามแหลม
แหล่งที่พบ   ปลูกเป็นอาหารในทุกภาค
สรรพคุณ    เมล็ดข้าวให้พลังงาน บำรุงม้าม น้ำข้าวเย็นจัด ดับร้อนแก้กระหาย แก้อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล ตาแดง ใช้ขับลม ช่วยให้เรอ แก้ท้องอืด น้ำซาวข้าว แก้กระหายดับร้อน แก้อหิวาตกโรค ช่วยให้สดชื่น ต้นอ่อนข้าวเหนียวช่วยย่อยอาหาร หล่อลื่นลำไส้ ขับเสมหะ ลดอาการบวม
ข้อควรระวัง   ข้าวที่มีราลงมีพิษมาก ห้ามนำมารับประทาน ส่วนข้าวเหนียวผู้ที่ระบบย่อยอาหารไม่ปกติรับประทานอาจทำให้ท้องผูกได้


บานไม่รู้โรย


ชื่อวิทยาศาสตร์  Gomphrena globosa  L.
ชื่อสามัญ  Everlasting, Globe Amaranth
วงศ์  AMARANTHACEA
ลักษณะ    เป็นพรรณไม้ดอก ต้นเล็ก สูงไม่เกิน 1 เมตร ตามข้อลำต้นจะพองเล็กน้อย ใบมีขนาดเล็กยาว มีขนปกคลุม ดอกกลมโต ขนาดเท่าผลพุทรา กลีบซ้อนกันเป็นชั้นๆ ปลายกลีบแหลมแข็ง ดอกมีหลายสี
แหล่งที่พบ    พบปลูกทั่วไป ขึ้นได้เองตามริมทางรกร้าง
ส่วนที่ใช้   ทั้งต้น ราก
สรรพคุณ   ทั้งต้น มีสรรพคุณเป็นยาแก้กษัย รากใช้รักษาโรคหนองใน ขับระดูขาว  บำบัดรักษากามโรค ขับปัสสาวะ รักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะแก้บิดและบรรเทาอาการไอ


บอระเพ็ด


ชื่อวิทยาศาสตร์  Tinospora crispa  (L.) Miers ex Hook.f.& Thomson
ชื่อวงศ์  Menispermaceae
ชื่ออื่น  เครือเขาฮอ (ชื่อที่เรียกกันตามท้องถิ่น)
ลักษณะ  จัดเป็นไม้เลื้อย มีปุ่มกระจายทั่วไปตามลำต้น  ใบมีลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อยมีสีเหลืองอมเขียว ทั้งลำต้นมีรสขม
แหล่งที่พบ   พบได้ทั่วไปตามป่าโปร่ง และชายป่าในแทบทุกภาคของประเทศ
ส่วนที่ใช้   เถา ใบ ผล
สรรพคุณ   เถาสดที่แก่จัดต้มดื่มช่วยเจริญอาหาร เป็นยาบำรุงธาตุไฟ ช่วยขับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ระงับร้อน รักษาโลหิต พิการ ใบเบื่อพยาธิในฟันและช่องท้อง ผลรักษาโรคไข้พิษอย่างแรงและขับเสมหะ


ผักบุ้ง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์   Ipomcea  aquatica  Forsk
ชื่อสามัญ  Swamp Morning Glory, Water Morning Glory
ชื่อท้องถิ่น   ผักบุ้งแดง  ผักบุ้งไทย  ผักบุ้งนา  ผักทอดยอด
ลักษณะ  จัดเป็นไม้เลื้อยทอดนอนไปตามผิวดิน หรือผิวน้ำ ใบคล้ายกับหัวลูกศร ขอบใบเรียบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกสีขาวหรือสีม่วงอมแดง ออกตามง่ามใบ ไม่เกิน 2 ดอกตามข้อบริเวณตอนล่างของลำต้น จะมีรากงอกออกมา
แหล่งที่พบ   ขอบขึ้นตามที่โคลนเลน ลอยตามแหล่น้ำจืดต่าง
ส่วนที่ใช้   ลำต้น ดอกตูม
สรรพคุณ  น้ำต้มจากลำต้นมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆช่วยให้อาเจียน แก้โรคประสาท การเสื่อมสมรรถภาพ แก้ริดสีดวงทวาร โดยการพอก ดอกตูมใช้รักษากลากเกลื้อนเป็นยาใช้ภายนอก


ผักตบชวา


ชื่อวิทยาศาสตร์   Eichhornia crassipe (C.Mart) Solms
วงศ์  
  Pontederiaceae
ชื่อสามัญ   
 Water hyacinth , Java weed
ลักษณะ  เป็นพืชลอยอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นสั้น ใบออกรอบลำต้น มีลักษณะรูปไข่เกือบกลม ปลายใบมนมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ก้านใบมีทั้งสั้นและยาวต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสารอาหารที่ได้รับ เนื้อในก้านมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ช่วยให้ลอยน้ำได้ ดอกออกเป็นช่อไม่เกิน 35 ดอก ดอกย่อยสีม่วง ผลมีเมล็ดมาก
แหล่งที่พบ   สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งบนบกและในน้ำ แต่ไม่ชอบอากาศเย็น และเค็มเกินไป
ส่วนที่ใช้  ทั้งต้น
สรรพคุณ   ทั้งต้นมีสรรพคุณในการบำบัดรักษาพิษจากภายในร่างกาย มีฤทธิ์ขับลม หากใช้เป็นยาภายนอกพอกบรรเทาอาการอักเสบของแผล


                                           อ้างอิง

ธรธรรมแก้ว เชื้อเมือง.สมุนไพรสำคัญที่ควรรู้.กรุงเทพฯ:A.D MMI.2537